วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สมัยประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก



สมัยประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก

แบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้
        1. อธิบายลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแหล่งอารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณได้
        2. วิเคราะห์ลักษณะอารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณด้านการเมืองการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม และสังคมได้
        3. ยกตัวอย่างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของอารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันได้

ข้อมูลเบื้องต้น
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณของชาติตะวันตก เริ่มตั้งแต่เมื่อชนชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม ( Cuneiform ) ขึ้นใช้เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตร์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย เพราะถูกรุกรานโดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน ในปี ค.ศ.476 มีการก่อตัวของ อารยธรรมโดยถ่ายทอดสืบต่อกันมาเริ่มตั้งแต่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก และโรมัน ตามลำดับ
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/pic2-4.gif
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/pic2-1.gif
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/pic2-3.gif
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/pic2-2.gif
  อารยธรรมเมโสโปเตเมีย กำเนิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรตีส ปัจจุบันอยู่ในประเทศอีรัก เป็นแหล่งอารยธรรมแห่งแรกของโลก มนุษย์ในอารยธรรมนี้ มักมองโลกในแง่ร้าย เพราะสภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ทำให้เกรงกลัวเทพเจ้า คิดว่าตนเองเป็นทาสรับใช้เทพเจ้า จึงสร้างเทวสถานให้ใหญ่โตน่าเกรงขาม เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ มีชุมชนหลายเผ่าตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ ที่สำคัญได้แก่ สุเมเรียน อะมอไรต์ อัสซีเรียน คาลเดีย และชนชาติอื่น ๆ


สุเมเรียน (Sumerian)
      เป็นชนเผ่าแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียในบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรตีส สิ่งที่นับเป็นอารยธรรม ได้แก่
·         มีระบบการเขียนที่เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม ( Cuneiform )
·         มีระบบการปกครองที่เรียกว่า นครรัฐ เช่น เมืองอูร์ ( Ur ) อีเรค ( Erech ) ลากาซ ( Lagash )
·         สถาปัตยกรรม มีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เรียกว่า ซิกกูแรต ( Ziggurat )
·         วรรณกรรม มหากาพย์เรื่องแรกของโลก คือ กิลกาเมซ ( Epic of Gilgamesh ) เป็นเรื่องของการผจญภัยของวีรบุรุษที่แสวงหาชีวิตอันเป็นอมตะ และกล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลก
·         มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เช่น
o    รู้จักการใช้จำนวนที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้มาก ๆ เช่น จำนวน12,24,60,90,360
o    การกำหนดมาตรา ชั่ง ตวง วัด
o    รู้จักวิธี คูณ หาร ยกกำลัง ถอดรากกำลังที่สองและที่สาม
o    การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลม


อักษรคูนีฟอร์ม (Cuneiform)

ซิกกูแรต (Ziggurat)

อะมอไรต์ (Amorite)

   ได้จัดตั้งอาณาจักรบาบิโลเนีย ขึ้นมาซึ่งเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งมีการปกครองแบบศูนย์รวม มีการเก็บภาษีอากร การเกณฑ์ทหาร รัฐควบคุมการค้าอย่างใกล้ชิด ผลงานสำคัญได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ( The Code of Hammurabi ) ยึดถือหลัก
ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ( an eye for an eye , a tooth for a tooth ) ในการลงโทษ กล่าวคือ ให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน เป็นแบบอย่างของความพยายามที่จะให้เกิดความยุติธรรมในการปกครอง นับเป็น กฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/oasis.gif 



อัสซีเรีย (Assyrian)
      ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลนและอาณาจักรต่างๆ ในเอเชียไมเนอร์ อัสซีเรียเป็นนักรบที่กล้าหาญ มีศูนย์กลางการปกครองที่
เมืองนิเนเวห์ ( Nineveh ) ผลงานที่สำคัญ ได้แก่
·         การสลักภาพนูนต่ำ ( base relief ) เป็นมรดกทางศิลปกรรมที่สำคัญ แสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวอัสซีเรีย ได้แก่ การล่าสัตว์ การทำสงคราม ศิลปวัฒนธรรมเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล
·         ห้องสมุดนิเนเวห์ มีการเก็บรวบรวมงานเขียนที่เป็นแผ่นจารึกต่าง ๆไว้ถึง 22,000 แผ่น นับเป็นห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสมัยนั้น สร้างโดยพระเจ้าอัสซูร์บานิปาล

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/orvieto2.gif      ตัวอย่างลักษณะของภาพสลักนูนต่ำ
คาลเดีย (Chaldean)

       เป็นชนเผ่าฮีบรู ที่เข้ายึดกรุงนิเนเวห์ได้สำเร็จและสถาปนา บาบิโลน ขึ้นเป็นนครหลวงอีกครั้ง จัดตั้งเป็นอาณาจักร
บาบิโลเนียใหม่ มีผลงานสำคัญ ได้แก่
·         สวนลอยแห่งบาบิโลน ( Hanging Gardens of Babylon ) สร้างในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ ซึ่งถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์
ของโลกยุคโบราณ เพราะสามารถใช้ความรู้ในการชลประทานทำให้สวนลอยแห่งนี้เขียวขจีได้ตลอดปี สวนลอยแห่งบาบิโลน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีส ทางตอนใต้ของกรุงแบกแดด ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ ( Nebuchadnezzar) แห่งกรุงบาบิโลเนีย เพื่อเป็นอุทยานพักผ่อนสำหรับพระมเหสีของพระองค์ เมื่อประมาณ 50 ปี ก่อนพุทธกาลหรือประมาณ 2600 ปีมาแล้ว สวนลอยบาบิโลนไม่ได้ลอยหรือแขวนอย่างชื่อ แต่เป็นสวนที่สร้างขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 25 เมตร กว้าง 120 เมตร เหมือนลอยอยู่ในอากาศ สร้างเป็นชั้นๆ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และพืชพันธุ์ต่างๆ สวยงามวิจิตรตระการตา ดั่งสวรรค์ของเหล่าเทวดาและนางฟ้า มีกำแพงล้อมรอบประดับประดาด้วยกระจกสี มีระบบทดน้ำจากแม่น้ำยูเฟรตีสขึ้นไปยังชั้นบน แล้วปล่อยให้ไหลลงมาสู่ชั้นล่างๆ เกิดความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้ ทำให้สวนแห่งนี้สวยสดงดงามตลอดปี จนเป็นที่กล่าวขวัญและยกย่องในความมหัศจรรย์ไปทั่วแผ่นดิน แต่ปัจจุบัน สวนลอยแห่งนี้ทรุดโทรมและสูญสลายไปหมดแล้ว

·         มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ สามารถพยากรณ์สุริยุปราคา , คำนวณเวลาการโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง
      

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/babilon2.gif
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/babilon1.gif


                       (ที่มา http://www.skb.ac.th)
2.       สมัยกลาง 
จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. อธิบายสภาพทั่วไปของยุโรปสมัยกลางได้
    2. วิเคราะห์ลักษณะอารยธรรมตะวันตกสมัยกลางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรมและสังคมได้
  ประวัติศาสตร์สมัยกลางของชาติตะวันตก เริ่มตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในปี ค.ศ. 476 และสิ้นสุดในปีที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 สมัยกลาง หรือ ยุคมืด เป็นระยะที่อารยธรรมกรีก-โรมัน เสื่อมลง โดยการรุกรานของอนารยชนเผ่าเยอรมัน
สภาพทั่วไปในระยะแรก ๆ ของสมัยกลาง
1.       ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป แตกแยกเป็นแว่นแคว้น โดยการรุกรานของชนเผ่าเยอรมัน
2.       คริสตจักรเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปะวิทยาการ โดยมี พระสันตะปาปา ที่ นครวาติกัน เป็นผู้นำ
3.       เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือ ระบบฟิวดัล ซึ่งคนในสังคมมีความสัมพันธ์แบบเจ้าของที่ดิน ( Land Lord ) กับผู้รับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ( Vassal ) ผู้รับมอบที่ดินต้องจงรักภักดีต่อเจ้าของที่ดิน มีการแบ่งชนชั้นคนในสังคมออกเป็น
§  ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง อัศวิน พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน มีความเป็นอยู่หรูหรา
§  สามัญชน ประกอบด้วย ชาวนาอิสระ และ ทาสที่ติดที่ดิน ( Serf )ชาวนาอิสระคือ ชาวนาที่เป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็ก ส่วนทาสติดที่ดินคือ ชาวนาที่อาศัยอยู่ตามที่ดินผืนใหญ่ของเจ้าของที่ดิน ต้องแบ่งเวลาทำงาน ต้องส่งส่วยผลิตผลให้เจ้าของที่ดิน เมื่อมีการโอนสิทธิ์ที่ดิน ทาสจะติดที่ดินนั้นไปด้วย
§  พระ มีบทบาทมากในสังคมสมัยกลาง วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นศูนย์กลางของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาของประชาชน
4.       พื้นฐานทางเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม ทรัพยากรที่สำคัญคือ ที่ดินและแรงงาน
5.       ระบอบการปกครองเป็นแบบกษัตริย์แต่อำนาจอยู่กับขุนนางมากกว่า
นักประวัติศาสตร์ยกย่องให้ สมัยกลาง เป็นอู่อารยธรรมของยุโรป ที่สำคัญ ได้แก่
1.       การเกิดลัทธิมนุษยนิยม ( Humanism ) ผู้คนมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีอิสระทางความคิด ไม่งมงายกับความเชื่อทางศาสนา หรือตกอยู่ภายใต้การครอบงำของคริสตจักรเหมือนดังแต่ก่อน
2.       การศึกษา มีการตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ เช่นมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ มหาวิทยาลัยปารีสในฝรั่งเศสมหาวิทยาลัยโบโลญาในอิตาลี
3.       สถาปัตยกรรม สะท้อนถึงความศรัทธาในคริสต์ศาสนา โดยมีการสร้างวัดและมหาวิหารมากมาย เช่น
o    ศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่น วิหารแซงต์-เอเตียนน์ ประเทศฝรั่งเศส หอเอนปิซา ที่อิตาลี
o    ศิลปะแบบโกธิก เช่น มหาวิหารโนตรดาม , มหาวิหารแซงค์ ชาแปลล์ ในฝรั่งเศส มหาวิหารออร์เวียตโต ในอิตาลี วิหารลินคอล์น ประเทศอังกฤษ
o    ศิลปะไบแซนไทน์ เช่น วิหารเซนต์โซเฟีย ในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี
4.       จิตรกรรม เป็นการเขียนภาพแบบ เฟรสโก ( Fresco ) โดยเขียนภาพลงบนปูนฉาบฝาผนังที่ยังเปียกอยู่ และงานประดับหินโมเสก
5.       วรรณกรรม เน้นเรื่องราวความเชื่อในคริสต์ศาสนา และวรรณกรรมทางโลก แต่งเป็นภาษาละติน เช่น
o    เทวนคร” ( The City of God ) เขียนโดยนักบุญออกัสติน เป็นวรรณกรรมทางศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของคริสต์ศาสนิกชนในสมัยกลางมากที่สุด
o    มหาเทววิทยา” ( Summa Theologica ) เขียนโดยนักบุญทอมัส อะไควนัส ใช้สอนในวิชาเทววิทยาในมหาวิทยาลัย มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างมีเหตุผล
6.       วัฒนธรรมและสถาบันพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
o    เกิดสมาคมพ่อค้าและช่างฝีมือ “กิลด์” ( Guild )
o    การจัดงานแสดงสินค้า ( fair ) การเกิดระบบธนาคารรับฝากและกู้ยืมเงิน การใช้เลขอารบิกในการทำบัญชีการค้า

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/notre-dame-front.gif
           วิหารโนตรดาม

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/fresco_bicentye.gif
         ภาพประดับหินโมเสก

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/tower_piza.gif
          หอเอนแห่งเมืองปิซา





3.        สมัยใหม่
จุดประสงค์การเรียนรู้
      1.  อธิบายสาเหตุและผลของการสำรวจเส้นทางเดินเรือของชาติตะวันตกได้
      2. อธิบายสาเหตุและผลของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมได้
     3. วิเคราะห์แนวคิดของนักปราชญ์ในคริสต์ศตวรรษที่18 ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครองได้
     4. วิเคราะห์การสร้างสรรค์พัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมของยุโรปสมัยใหม่ได้

ประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่
     เริ่มตั้งแต่ปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ( Christopher Columbus ) ค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกา และสิ้นสุดลงในปีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงยุโรปสมัยใหม่ เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน และมีการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะวิทยาการ เป็นยุคที่มีอารย
ธรรมเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก และแพร่ไปยังดินแดนต่างๆ
   


รูปปูนปั้นนูนสูงบนประตูชัยกรุงปารีส

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของยุโรปในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่

  1.การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) ทำให้ยุโรปกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
  2.การสำรวจเส้นทางเดินเรือ โดยมุ่งหมายทางการค้าและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา
  3.การเกิดชนชั้นกลาง (พ่อค้า) เข้ามาควบคุมเศรษฐกิจแทนพวกขุนนางในระบบฟิวดัล และสนับสนุนกษัตริย์ ในด้านการปกครอง ทำให้ฐานะกษัตริย์เข้มแข็ง
  4.ความก้าวหน้าทางด้านการพิมพ์ มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้และวิทยาการใหม่ๆออกไปอย่างรวดเร็ว
   
สมัยใหม่ช่วงแรก (คริสต์ศตวรรษที่ 15-18) มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

  1.การฟื้นฟูศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน ( Renaissances ) นำความรู้วิธีคิด ใช้ปัญญาและเหตุผลตามแบบอย่างนักปราชญ์ชาวกรีก ให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือเป็นลักษณะยุคมนุษย์นิยม

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/cathoric.jpg
           โบสถ์ในคริส์ตศาสนา นิกายโรมันคาทอริก

  2.การปฏิรูปศาสนา เกิดการแบ่งแยกศาสนจักรเป็น 2 นิกายใหญ่ๆ คือ
      2.1.นิกายโรมันคาทอริก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มีพระสันตะปาปา ( Pope ) เป็นประมุข
      2.2.นิกายโปรแตสแตนท์ แบ่งเป็นนิกายย่อยๆอีกหลายนิกาย นับถือในประเทศต่างๆ เช่น นิกายอังกฤษ ( Church of England ) และนิกายลูเธอร์ ( Lutheranism ) ในเยอรมนี


  3.การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
   3.1.ยุโรปเข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
  ยุคกลาง มีการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและตะวันออกกลาง โดยอิตาลีได้เปรียบประเทศอื่น สามารถควบคุมเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมด ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา พยายามทำลายการผูกขาดนี้ ประจวบกับชาวยุโรปส่วนหนึ่ง เบื่อชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลมืดของสันตะปาปา จึงคิดอพยพไปตายเอาดาบหน้าเพื่ออิสระในการนับถือศาสนา เป็นเหตุหนึ่งในการออกสำรวจแสวงหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ และเส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปกับตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องการหาเส้นทางการค้าใหม่ก็คือ ค้าขายทางทะเลเท่านั้น การติดต่อของชาวยุโรปและโลกตะวันออกจากการค้า ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆ    ของกรีกและมุสลิม หลั่งไหลมาสู่สังคมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตน ตลอดจนเกิดการท้าทายคำสอนศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลางถึงเรื่องโลกแบน ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นดินแดนที่กว้างใหญ่ ความต้องการสำรวจเส้นทาง โดยเฉพาะทางเรือ จึงเพิ่มขึ้น
    3.2.การค้นพบดินแดนทางตะวันออกของชาติตะวันตก
  -บาร์โธโลมิว ไดแอส ชาวโปรตุเกสสามารถเดินเรือเลียบทวีปแอฟริกาจนเข้าแหลม กู๊ดโฮม ได้สำเร็จใน ค.ศ.1488
  -วาสโก ดา กามา ใช้เส้นทางของไดแอส จนถึงเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่งที่เมืองคาลิกัต ของอินเดียและสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดีย นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย
  -คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีรับใช้กษัตริย์สเปนในการสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา และเป็นผู้เชื่อว่าโลกมีสัณฐานกลม ไม่แบนตามคำสอนของคริสต์ศาสนา ในสมัยกลาง
  -เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน ชาวโปรตุเกส รับอาสากษัตริย์สเปน หาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกจนสามารถเข้าฟิลิปปินส์แต่เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลูกเรือสามารถนำเรือกลับมาสเปนได้
     ยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคแห่งการค้นพบ ( Age of Discovery) การค้นพบดินแดนต่างๆทำให้ ฮอลันดา อังกฤษ และต่อมาฝรั่งเศส เข้ามาสร้างอิทธิพลครอบครองดินแดนทางตะวันออก และทำให้เกิด ลัทธิจักรวรรดินิยม

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/Columbus.jpg
                     โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/Cristopher.jpg
                            คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

   ปัญญาชนชาวตะวันตกให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าจนเกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบอร์ก ชาวเยอรมัน ทำให้วิทยาการความรู้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
   ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดจากแนวความคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือ
    1. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาว กรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ สติปัญญาของมนุษย์สามารถนำมนุษย์ไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก
    2. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลอง จนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)
นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
  นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาล ที่มีสาระสำคัญคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความคิดของโคเปอร์นิคัส เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
  กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ ( Telescope ) ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น
  เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้ค้นพบ 2 ทฤษฎีคือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/garileo.jpg
                                 กาลิเลโอ
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/garileo2.jpg
         กาลิเลโอ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ (Telescope)
   
สมัยใหม่ช่วงหลัง (นับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2)

มีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่
    1.1 เป็นยุคที่เปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้าจากใช้แรงงานคนและสัตว์มาใช้เครื่องจักร
    1.2 ประเทศแรกที่บุกเบิกคืออังกฤษโดยอุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ คืออุตสาหกรรม การทอผ้า

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/jameswatt.jpg
                  เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/James_Watt.gif
                                      เจมส์ วัตต์ 

  2.การเกิดแนวความคิดทางการเมือง และเศรษฐกิจแบบใหม่
    - การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีนักปราชญ์ที่เสนอแนวคิด ดังนี้
จอห์น ล๊อค ชาวอังกฤษกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและ มีอิสระไม่มี ผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจในการคุกคามชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้อื่นได้
มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย ( The Spirit of Laws ) เสนอความคิดการแบ่งแยกอำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เขาเชื่อว่าหากแยกอำนาจสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง แต่ถ้าอำนาจทั้ง 3นี้รวมกันอยู่ในองค์การเดียวกัน อาจจะทำให้เกิดการกดขี่ประชาชน
วอลแตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดและมีผลงานด้านการเขียนมากมายให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา ต่อต้าน ความอยุติธรรมในสังคม แต่ในด้านการเมืองไม่เคยแสดงความคิดเห็น อย่างชัดเจน จึงไม่มีทฤษฎีการเมืองที่แน่นอน
รุสโซ ชาวฝรั่งเศส ผลงานหนังสือที่สำคัญคือ สัญญาประชาคม ( The Social Contract ) ข้อความที่จับใจคนเป็นจำนวนมากคือ มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระ แต่ทุกหนทุกแห่งเขาถูกพันธนาการรุสโซ เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมกันของประชาชน( General Will ) เขาได้รับสมญาว่า เจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตย


      3.1 ปัญหาหลักคือ ลัทธิชาตินิยม และจักรวรรดินิยม เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
      3.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลาง
      3.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ
      3.4 เกิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์และองค์การสันนิบาตชาติ

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/ww1-4.jpg
การสู้รบในมหาสงครามโลกครั้งที่ 1

      4.1 ปัญหาหลักคือ การละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายน์ของเยอรมันและการล่มขององค์การสันนิบาตชาติ
      4.2 มีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ
      4.3 สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ
      4.4 เกิดองค์การสหประชาชาติและสงครามเย็น
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/ww2-5.jpg
สหรัฐฯ ใช้ระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2
   
ศิลปวัฒนธรรมยุโรปสมัยใหม่

สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Renaissances ) เป็นช่วงที่ยุโรปนำศิลปกรรมสมัยกรีก-โรมัน กลับมาใช้อีก
·         ด้านประติมากรรม เน้นการแสดงสัดส่วนสรีระร่างกายมนุษย์ ผลงานสำคัญของไมเคิล แอนเจลโล ได้แก่
o    รูปสลักเดวิด ( David ) แสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วนของร่างกาย
o    รูปสลักลาปิเอตา ( La Pieta ) เป็นรูปสลักพระมารดา กำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระหัตถ์ หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว ผลงานแสดงให้เห็นถึงความนุ่มนวล อ่อนไหว
·         ด้านจิตรกรรม เป็นงานแสดงถึงความนุ่มนวล ละเมียดละไมแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ มีการใช้สีและเงาให้เกิดแสงสว่าง ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น
เลโอนาร์โด ดาวินชี
o    ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู ( The Last Supper )
o    ภาพโมนาลิซา ( Mona Lisa )
ราฟาเอล
o    ภาพพระแม่ พระบุตร แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร
·         วรรณกรรมที่เป็นบทละครรับอิทธิพลของบทละครกรีก โดยนักประพันธ์ที่มีชื่อ เช่น
วิลเลียม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมิโอและจูเลียต , เวนิสวานิส , คิงเลียร์ , แมคเบท , ฝันคืนกลางฤดูร้อน ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน
เซอร์ทอมัส มอร์ ได้แก่ ยูโทเปีย ที่กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/david.jpg
                                       รูปสลักเดวิด
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/lapieta.jpg
รูปสลัก ลาปิเอตา La Pieta

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/saint_peter_reredos.jpg
                       แท่นบูชาในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์

o    สถาปัตยกรรม ได้แก่ พระราชวังแวร์ซายส์ ของฝรั่งเศส , แท่นบูชาในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ในกรุงโรม
o    ดนตรี เป็นวงดนตรีแบบออร์เคสตร้า(Orchestra) โดยใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีมากชิ้น

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก
o    สถาปัตยกรรม เน้นความสง่างาม สมดุลกลมกลืนได้สัดส่วน
o    ประติมากรรม ลอกเลียนแบบประติมากรรมกรีก-โรมัน
o    จิตรกรรม เน้นเรื่องเส้นมากกว่าการใช้สี แสดงถึงความสง่างามและยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย เช่น ภาพการตายของมารา ( The Death of Marat ) โดย ชาก หลุยส์ เดวิด
o    ดนตรี นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงคือ โมสาร์ต ชาวออสเตรีย

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/dav_marat_2.jpg
                    The Death of Marat

ศิลปะแบบโรแมนติก หรือจินตนิยม ( Romanticism )

      เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย
     ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม
·         สถาปัตยกรรม นำรูปแบบในอดีตมาดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากแบบโกธิก
·         ประติมากรรม เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น
§  รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย ในกรุงปารีส
§  รูปปั้นสัตว์ มักเป็นรูปสัตว์ป่าสองตัวต่อสู้กัน
·         จิตรกรรม ใช้ สี เส้น แรเงา รุนแรงมุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น
§  ภาพ อิสรภาพนำประชาชน” ( Liberty Leading the People )
§  ภาพ แพของเมดูซา” ( Raft of Medusa )
·         ดนตรี มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจ เช่นความรู้สึกชาตินิยม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคือ เบโทเฟน ซึ่งแต่งเพลง ซิมโฟนีหมายเลข 9” และ ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี ซึ่งแต่งเพลง ซิมโฟนีหมายเลข 6” เป็นเพลงประกอบบัลเลต์เรื่อง Swan Lake

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/arch_triumph.jpg
        รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส บนประตูชัยในกรุงปารีส
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/liberty_Leading_the_People.jpg
ภาพ "อิสรภาพนำประชาชน"


ศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม
ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม
      ศิลปะแบบสัจนิยม ( Realism) เป็นศิลปะที่สะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา ไม่เน้นความรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการของศิลปิน แต่มุ่งเสนอความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น
      แนวทางของศิลปะแบบสัจนิยม มุ่งต่อต้านศิลปะแบบโรแมนติกที่มิได้ให้ความสำคัญต่อสภาพที่เป็นจริงของสังคม เป็นกระบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ทำให้งานสร้างสรรค์ศิลปะมีประโยชน์และรับใช้มนุษย์โดยตรงมากขึ้น
1. งานวรรณกรรม แนวสัจนิยมมีดังนี้
1.       ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ ( Charles Dickens) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง "โอลิเวอร์ ทวิสต์" ( Oliver Twist) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน เป็นต้น
2.       ลิโอ ตอลสตอย ( Leo Tolstoy) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่ คือ "สงครามและสันติภาพ" ( War and Peace)
3.       งานเขียนประเภทสัจสังคม ( Social Realism) เป็นงานวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลของลัทธิมาร์กซ์ มุ่งสะท้อนปัญหาสังคม การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับกรรมกร ชี้นำถึงสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขตามวิธีของมาร์กซิสม์ นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในแนวนี้ คือ "แม่" ( Mother) ผลงานของแมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky) นักเขียนชาวรัสเซีย
4.       ศิลปะนาฎกรรม การละครแบบสัจนิยมมุ่งสะท้อนสภาพสังคมตามความเป็นจริง เน้นให้ผู้แสดงเล่นอย่างสมจริงตามธรรมชาติ ไม่แสดงอารมณ์มากนัก เศร้าอย่างรุนแรงแบบโรแมนติก เป็นละครแบบร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/books_md_wht.gif
2. ด้านจิตรกรรม จิตกรแนวสัจนิยมไม่นิยมเขียนภาพด้วยจินตนาการเหมือนอย่างพวกโรแมนติก แต่จะเขียนภาพจากสิ่งที่พบเห็น เช่น ภาพชีวิตของคนยากจนในเมืองใหญ่ การใช้ชีวิตหรูหราของชนชาติกลาง ต่อมาภาพวาดมีลักษณะให้ความสำคัญกับแสง สี และเงามากกว่าเส้น นิยมวาดทิวทัศน์ตามธรรมชาติ เรียกว่า ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/realism_deer.gif     Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/Realism1.gif

(ทำแบบฝึกหัด 10 ข้อ )



Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/pic4.gif
จุดประสงค์การเรียนรู้
      1.   อธิบายเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่ข้อขัดแย้งและความร่วมมือของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบันได้
      2. วิเคราะห์ผลงานของมนุษยชาติที่เป็นแนวทางในการประสานประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบันได้
ช่วงเวลาที่เป็น ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันเริ่มนับตั้งแต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี ค.ศ.1945 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/UN1.jpg
ที่ทำการองค์การสหประชาชาติ UN
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/september11.jpg
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/11september.jpg
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/september11-2.jpg
เหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ.2001
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/binladen.jpg
บินลาเดล ผู้ก่อการร้ายที่สหรัฐฯต้องการ

เหตุการณ์สำคัญ มีดังนี้
·         การเกิดและสิ้นสุดของสงครามเย็น ( Cold War ) สงครามเย็น คือการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจสองค่าย คือ สหรัฐอเมริกาชาติผู้นำโลกเสรี กับ สหภาพโซเวียตผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงใหม่ๆ โดยมีสาเหตุพื้นฐาน เกิดจากความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสอง การสิ้นสุดของภาวะ สงคราม เย็นเกิดขึ้นในปี  ค.ศ.1991 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สัญลักษณ์ของสงครามเย็นสิ้นสุดลงคือ กำแพงเบอร์ลินที่กั้นระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออกถูกพังทลายลง
·         การจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ ( United Nations ) เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลก
·         การรวมกลุ่มทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพื่อให้ความร่วมมือและรักษาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น องค์การนาโต้ ( NATO ) กลุ่มสหภาพยุโรป ( EU ) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ( APEC ) และองค์การการค้าโลก ( WTO ) เป็นต้น
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/WTO.jpg
·         สหรัฐเพิ่มบทบาทเป็นชาติผู้นำโลก โดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามลัทธิก่อการร้ายซึ่งรุนแรงขึ้นใน ปัจจุบัน ดังกรณีเหตุการณ์ 11 กันยายน ค.ศ.2001 โดยผู้ก่อการร้ายได้ปฏิบัติการจี้เครื่องบินพาณิชย์พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในนครนิวยอร์ก ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และสหรัฐส่งกำลังทหารและอาวุธเข้าโจมตีและยึดครองอิรัก ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2003 โดยอ้างว่าอิรักสะสมขีปนาวุธร้ายแรงเป็นภัยต่อโลกและเพื่อปลดปล่อยอิรักจากอำนาจเผด็จการของประธานาธิบดีซัตดัม ฮุสเซน
·         ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
o    ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การคมนาคมขนส่งข้ามทวีปเป็นไปอย่างรวดเร็ว การสื่อสารข้อมูลแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกอันกว้างใหญ่จึงแคบลงโลกาภิวัตน์ ( Globalization ) จึงเป็นคำนิยามของโลกปัจจุบัน
o    ด้านการเมืองและการทหาร มีการนำความรู้ทางเทคโนโลยีไปใช้ผลิตอาวุธที่ทันสมัยมีการทำลายล้างสูง
o    การใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ เช่น นำพลังงานนิวเคลียร์มาผลิตกระแสไฟฟ้า
o    ด้านการแพทย์ ทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวและสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
o    ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้มากขึ้นและสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดภาวะโลกร้อน หรือ ภัยธรรมชาติที่รุนแรงของมนุษยชาติ เช่น สึนามิ
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/satherlite.jpg
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/mri.jpg
Description: http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/images/tsunami1.jpg
สีนามิถล่ม


 



1 ความคิดเห็น: