วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์กับศิษย์


อาจารย์กับศิษย์
หน้าที่อาจารย์   มีห้าประกา 
หนึ่งแนะนำดี        ประพฤติให้ศิษย์  เห็นเป็นสักขี
สองให้เรียนดี       ทั้งอ่านทั้งเขียน
สามไม่อำพราง     ศิลปทุกอย่าง ที่ศิษย์อยากเรียน
สี่ยกย่องศิษย์         เก่งดีมีเพียร
ห้าให้ศิษย์เรียน      รู้รักษาตน
เป็นศิษย์มีครู          ต้องกตัญญู  คุณครูทุกคน
หนึ่งเมื่อพบท่าน     ทุกแห่งทุกหน
ยืนน้อมเศียรตน      ยกมือวันทา
สองรับใช้ท่าน        เมื่อคราวมีงาน ให้ท่านหรรษา
สามท่านสอนสั่ง     เชื่อฟังวาจา อย่าได้โกรธา ถ้าท่านตักเตือน
สี่อยู่บ้านท่าน         ช่วยบริการ กวาดบ้านถูกเรือน
คอยดูแลท่าน         อย่าได้แชเชือน เที่ยวไปกับเพื่อน ผิดกาลเวลา
ห้าเวลาเรียน          ตั้งใจพากเพียร แต่ละวิชา ควรต้องจดจำ
ไว้เป็นตำรา            ภายหลังกังขา  ค้นหาง่ายดาย
ครูดีศิษย์ดี             สังคมไม่มี เรื่องยุ่งวุ่นวาย ศิษย์เชื่อฟังครู
จึงอยู่สบาย            ขออภิปราย  พอเข้าใจความ


วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ ๑ วิชา อารยธรรมเปรียบเทียบ


ใบงานที่  ๑    วิชา  อารยธรรมเปรียบเทียบ (๙๐๑ ๑๐๔)

ชื่อ-สกุล...............................................................................................เลขที่.......................................

คำชี้แจง: จงตอบคำถามที่กำหนดให้ ให้ได้ใจความสมบูรณ์ สมภูมิปัญญา
๑.  อารยธรรม คืออะไร มีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างไรบ้าง  อธิบาย
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๒.  การศึกษาประวัติศาสตร์อารยะธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร  อธิบาย
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๓.  ร่องรอยหลักฐานทางอารยธรรมต่าง ๆ  บอกให้รู้ถึงสิ่งใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๔.  อารยธรรมอินเดีย คืออะไร มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวสุวรรณภูมิอย่างไรบ้าง  อธิบาย
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๕.  อารยธรรมจีน คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีราวงศ์ใดอยู่ร่วมสมัยบ้าง  อธิบาย
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ตัวอย่างรายงานประกอบด้วย


               ตัวอย่างรายงาน...ประกอบด้วย

1.           ปกหน้า
…………………………………………………………………...........
2.           ใบรองปก
…………………………………………………………………………
3.           คำนำ
…………………………………………………………………………
4.           สารบัญ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
5.           เนื้อเรื่อง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
6.           บรรณานุกรม(อย่างน้อยหนังสืออ้างถึง 6 เล่ม)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
7.           ใบรองปกหลัง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
8.           ปกหลัง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….


ตัวอย่างปกรายงาน



รายงาน
                 
             เรื่อง ....................................................................................................................


เสนอ
                              อาจารย์..........................................................................


จัดทำโดย

                  1.ชื่อ.....................นามสกุล..............................รหัสนักศึกษา....................
                 2.ชื่อ......................นามสกุล...............................รหัสนักศึกษา...................
                 3.ชื่อ......................นามสกุล..............................รหัสนักศึกษา...................


วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

                    รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา...............................รหัสวิชา.......................
                     คณะ..............................................สาขา........................................................
                    ภาคเรียนที่ ................................... ปีการศึกษา.................................................

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มคอ.3


รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา  คณะศิลปศาสตร์ สาขา วิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
1.  รหัสและชื่อรายวิชา
                901-104 อารยธรรมเปรียบเทียบ (Comparative Civilization)
2.  จำนวนหน่วยกิต
                3 หน่วยกิต  (3-0-6)

3.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

                หลักสูตร ศิบปศาสตร์บัณฑิต วิชาบังคับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
               ตอนเรียนที่    อาจารย์ กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
 5.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
              ภาคการศึกษาปลาย ปีที่
6.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)
            ไม่มี
7.  วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (co-requisites) (ถ้ามี)
           ไม่มี
8.  สถานที่เรียน
            วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม   ตึก 9
9.  วันที่จัดทำรายละเอียดของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด
        30  ตุลาคม  2555
หมวดที่ 2  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1.              จุดมุ่งหมายของรายวิชา
               นักศึกษาเข้าใจความเป็นมาของการกำเนิดอารยธรรม แหล่งกำเนิดอารยธรรม อารยธรรมโบราณตะวันตก อารยธรรมโบราณตะวันออก อิทธิพลของศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามในยุคกลาง สมัยการฟื้นฟูศิลปวิทยาการและปฏิรูปศาสนา ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การปฎิวัติอุตสาหกรรม อิทิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีต่อการปกครองของไทย  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงานได้อย่างมีคุณธรรม ความสงบสุขด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 
       1.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาอารยธรรมโลก
      2. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอารยธรรมไทย สมัยเก่กับสมัยปัจจุบัน
      3. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอารยธรรมไทยกับอารยธรรมตะวันตก
      4. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีต่อเมืองไทยในด้านเศรษฐกิจ
          สังคม การเมือง และการปกครอง
      5. รวบรวมกรณีศึกษามรดกทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
2.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
                      - เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสามารถในการเรียนรู้  และพัฒนาตนเอง
             (Ability to Learn & Adapt to change)เช่นการมุ่งมันสู่ความสำเร็จ(Achievement Motivation)
ความกระตื้นรื้น(Energetic)ความมั่นใจในตัวเอง(Self- Confidence) ความน่าเชื่อถือหรือไว้ว่าใจได้
(Trust)การทุ่มเทในการทำงาน(Dedication to work) และทัศนคติเชิงบวกต่องาน
หมวดที่ 3  ส่วนประกอบของรายวิชา
 1.  คำอธิบายรายวิชา
           ศึกษาเกี่ยวกับการความเป็นมาและเปรียบเทียบอารยธรรมไทย สมัยแรกเริ่มถึงสมัยปัจจุบัน อารยธรรมสมัยปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลจากสมัยก่อนและอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีต่อเมืองไทย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการปกครอง รวมถึงกรณีศึกษามรดกทางอารยธรรม

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้/ภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
45 ชั่วโมง
ไม่มี
ไม่มี
90 ชั่วโมง
3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
     - อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
     - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์               
        (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ 4  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.  คุณธรรม จริยธรรม
1.1  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                   ปลูกฝังการตรงต่อเวลา ความมีวินัย การทำงานได้ด้วยตัวเอง ใฝ่รู้  ความซื่อสัตย์ และ ความ
                    รับผิดชอบ
            1.2  วิธีการสอน
  1.2.1  การอธิบาย/บรรยาย
  1.2.2  การอภิปราย/การใช้เหตุผล                                     
           1.2.3  การศึกษาค้นคว้ารายบุคคลหรือกลุ่ม
            1.2.4  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            1.2.5  การใช้สื่อประกอบการสอน
            1.3  วิธีการประเมิน
                ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน

2.  ความรู้
               2.1  ความรู้ที่จะได้รับ
                      ความรู้และความใจความเป็นมาของการกำเนิดอารยธรรม แหล่งกำเนิดอารยธรรม อารยธรรมโบราณตะวันตก อารยธรรมโบราณตะวันออก อิทธิพลของศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามในยุคกลาง สมัยการฟื้นฟูศิลปวิทยาการและปฏิรูปศาสนา ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การปฎิวัติอุตสาหกรรม อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีต่อการปกครองของไทย  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงานได้อย่างมีจริยธรรมแบบสัมมาชีพที่เหมาะสมกับผู้เรียนและมาตรฐานการเรียนรู้ในบริบทของสถาบัน

            2.2  วิธีการสอน
                       การบรรยาย  การอภิปราย   การทำรายงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งกรณีศึกษาและ/หรือเชิญวิทยากรมาบรรยาย
                2.3  วิธีการประเมิน
                      ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การสอบกลางภาคและปลายภาค   

3.  ทักษะทางปัญญา
            3.1  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                  คิดสะท้อน (reflective thinking) คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบรูณาการองค์ความรู้จากการถาม-ตอบ ด้านอารยธรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง(Continuous Learning)และการควบคุมอารมณ์( Emotional Control)
            3.2  วิธีการสอน
                   ใช้กระบวนการกลุ่มในการ อธิบาย อภิปราย สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การทำใบงานต่าง ๆ ที่มอบหมาย  ตลอดภาคการศึกษา

            3.3  วิธีการประเมิน   
                ประเมินจากการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปราย รายงานรายบุคคลและรายกลุ่ม  นำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดส่งผลการวิเคราะห์งานใบงานประจำเดือน

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                  มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
                4.2  วิธีการสอน
                   ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ อภิปราย/บรรยาย ถามตอบ และค้นคว้า ในชั้นเรียนและห้องสมุด
4.3  วิธีการประเมิน
                   ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและทำรายงาน

5.  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศ
5.1  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศที่ต้องพัฒน
     ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดภาษาและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2  วิธีการสอน
                    การสอนโดยใช้ power point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ   
     เอกสาร วารสารต่างๆ  และอินเตอร์เน็ต
5.3  วิธีการประเมิน
               ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย  การเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน







หมวดที่ 5  แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
1,2
- บทที่ 1 ความเป็นมาของการกำเนิดอารยธรรม
- ความหมายของอารยธรรม
- ประวัติศาสตร์สมัยต่างๆ
- จุดมุ่งหมายของประวัติศาสตร์
-ประโยชน์ของการศึกษา
  ประวัติศาสตร์
-จุดกำเนิดของอารยธรรม
 โบราณ

6
-ให้นักศึกษาทดสอบความรู้พื้นฐานก่อนเรียน
-แนะแนววิธีการศึกษา
-อธิบายโครงสร้างของวิชาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- การแก้ปัญหา
- นักศึกษาส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่น
-ประวัติศาสตร์สมัยต่างๆ
- จุดมุ่งหมายของประวัติศาสตร์มีอิทธิพลต่อนักศึกษาอย่างไร?
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
3,4





บทที่ 2 อารธรรมโบราณตะวันตก
- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- อารยธรรมอียิปต์
-อารยธรรมกรีก
- คำถามท้ายบ


6




ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร แลกเปลี่ยนความรู้รวมทั้งแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อที่กำหนด เช่นอารยธรรมเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมอียิปต์มีความเป็นมาอย่างไร?
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ส.2
- ทำแบบฝึกหัด

อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง






5,6








สัปดาห์ที่
บทที่ 3 อารยธรรมโบราณตะวันออก
- อารยธรรมจีน
- อารยธรรมอินเดีย
- อารธรรมโบราณในตะวันออกเฉียงใต้


เนื้อหา
6








จำนวนชั่วโมง
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถาม-ตอบ
ให้นักศึกษาวิเคราะห์อารยธรรมจีนและอารยธรรมอินเดียพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การบรรยาย
- นักศึกษามีส่วนร่วมโดย ให้ศึกษา ค้นคว้า จากเอกสาร ตำรา และInternes งานมอบหมายรื่อง อารธรรมโบราณในตะวันออกเฉียงใต้
 -ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ ส.3,4
กิจกรรมการเรียน
การสอน
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง









ผู้สอน
7




บทที่ 4 อิทธิพลของคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลามในยุคกลาง
- ยุโรป
 -การแผ่ขยายอารยธรรมอิสลาม
3



-ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้ ส.5,6
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถาม/ตอบ



อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง





8
บทที่ 5 สมัยแห่งกาฟื้นฟูศิลปวิทยาการและการปฏิรูปศาสนา
- การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
- การปฏิรูปศาสนา
-วิวัฒนาการทางการเมืองในยุโรป
-กำเนิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
-การเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย


-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถาม/ตอบ
เรื่อง
-การฟื้นฟูศิลปวิทยาการมีความสำคัญอย่างไร
- การปฏิรูปศาสนามีประโยชน์/โทษอย่างไร
-วิวัฒนาการทางการเมืองในยุโรปมีความสำคัญอย่างไร
นศ.ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
*งานมอบหมายงานกลุ่ม/เดี่ยว Present หน้าชั้นเรียนและทำ Reportส่ง
-ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวน เนื้อหา ส.1-8

อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
9
สอบกลางภาค
18-22 ธ.ค.55
3
เนื้อหาครั้งที่ 1-8 
(บทที่ 1 4 )

10,11
บทที่ 6 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
- วิทยาศาสตร์กับการค้นหาความรู้ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 16
-แนวทางสำคัญในการศึกษาวิทยาศาสตร์
-ธรรมชาติของมนุษย์
6
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามนศ.ว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาตร์มีผลดี/เสียอย่างไร
-เสนองานมอบหมายนำมา present หน้าชั้นเรียน
- รายงานกลุ่ม/เดียว
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง

สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
12,13
บทที่ 7 การปฎิวัติอุตสาหกรรม
-สาเหตุของการปฎิวัติอุตสาหกรรม
- ผลการปฎิวัติอุตสาหกรรม
  *ที่มีต่อด้านสังคม
  *ที่มีต่อด้านการเมือง
  *ที่มีต่อด้านเศรษฐกิจ
   *ที่มีต่อด้านปัญญาและวัฒนธรรม
  
6
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-รายงานกลุ่ม

อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
14,15
บทที่ 8จุดกำเนิดวัฒนธรรมสมัยใหม่
-โลกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19
-ลักษณะความคิดในศตวรรษที่ 19
-การสร้างสรรค์งานศิลปะ
3
-ศึกษากำเนิดอารยธรรมโลก
-รายงานกลุ่ม
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
16,17
บทที่ 9 อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีต่อการปกครองของไทย
-ที่มีต่อด้านสังคม
  -ที่มีต่อด้านการเมือง
  -ที่มีต่อด้านเศรษฐกิจ
  -ที่มีต่อด้านปัญญาและวัฒนธรรม
(กรณีศึกษาอารยธรรมเขาพระวิหาร)

3
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-เสนองานมอบหมาย
- ทำแบบฝึกหัด
-ทบทวนเนื้อหา ส.10-17



อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง








18

สอบปลายภาค
              26 ก.พ. -2 มี.ค.56
3
เนื้อหาครั้งที่  10-17
(บทที่ 6–8 )





2.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
วิธีการประเมิน
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล
1
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าการนำเสนอรายงาน
นำเสนอรายงาน
ตลอดภาคการศึกษา
20

การทำงานกลุ่มและผลงาน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความเห็นในชั้นเรียน
การส่งงงานตามมอบหมาย



2
ทดสอบย่อย
บทที่1-5
8
10
3
ความรู้
สอบกลางภาค    
9
30
4
ความรู้
สอบปลายภาค
18
30
5
ความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา
ตลอดภาคการศึกษา
10
* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร (แบบ มคอ. 2)
                                หมวดที่ 6  ทรัพยากรประกอบการเรียน
1.  ตำราและเอกสารหลัก
               1. คณะอักษรศาตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.อารยธรรมสมัยใหม่-ปัจจุบัน.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์
                       มหาวิทยาลัย,๒๕๒๓
                   2. นันทนา กปิลกาญจน์  ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ ๙. 
                      กรุงเทพ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,๒๕๕๐.
                  3. สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย.มนุษย์กับอารยธรรม. (หน่วยที่ 1-7). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัย
                     สุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๒๓.
                  4. ปรัศนีย์  เกศะบุตร,อารยธรรมเปรียบเทียบ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2553
                  5. Thomas McEvilley, The Shape of Ancient Thought: Comparative Studies in Greek and Indian
                      Philosophies, Rice University , New York City.
                  6. http://www.thaigoodview.com (อารยธรรมโลก)
1                 เอกสารและข้อมูลสำคัญ      
          ไม่มี
2                 เอกสารและข้อมูลแนะนำ
      เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น  http://comparative-civilization-stu.blogspot.com/,                                
                                                                       http://www.siamtechu-learn.net (E-learning:วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม)                                                                 

หมวดที่ 7  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                1.1  ประเมินผลการสอนโดยใช้แบบสอบถาม/ระบบออนไลน์
               1.2  สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาในสัปดาห์สุดท้าย
1.3  ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
1.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
1.2 ผลการสอบ
3.  การปรับปรุงการสอน
              3.1  นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน
3.2  ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆนำมาใช้ในการสอน
3.3  กลุ่มคณาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสม
      และน่าสนใจ
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
              4.1  ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
4.2  ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน
5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป