วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์


การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ความหมายของการ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการขอโลกตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้างแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โลก และจักรวาล ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
  • การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในความสามารถของตน มีอิสระทางความคิด หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสต์จักร และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น
  • การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันตอนใต้ โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรขอกูเตนเบิร์ก ในปี ค.ศ.1448 ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
  • การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก ตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาทำให้อารยธรรมความรู้ต่าง ๆ จากจีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เชีย เผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น
ความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
  • ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตน เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การแสวงหาความรู้โดยไม่มีสิ้นสุด
  • ก่อให้เกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่าง ๆ และทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยเน้นศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ
  • ทำให้เกิดการค้นคว้าทดลองและแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสมัยต่อมา
  • ทำให้ชาวตะวันตกมีทัศนคติเป็นนักคิด ชอบสังเกต ชอบซักถาม ชอบค้นคว้าทดลอง เพื่อหาคำตอบ และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรก
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรก เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา สรุปได้ดังนี้
  • การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส (Nicholaus Copernicus) ชาวโปแลนด์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สาระสำคัญ คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรโดยรอบ ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสต์จักรอย่างมากที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แม้จะถูกประณามอย่างรุนแรง แต่ถือว่าความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนในเรื่องราวลี้ลับของธรรมชาติ
  • การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ของกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการเคลื่อนไหวของดวงดาว และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์ เป็นต้น
  • การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ ของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ชาวเยอรมัน ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สรุปได้ว่า เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปเข่หรือรูปวงรี มิใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส
การเสนอวิธีสร้างความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17
มีนักคณิตศาสตร์ 2 คน ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีสร้างความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
  • เรอเนส์ เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) ชาวฝรั่งเศส และเซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันเสนอหลักการใช้เหตุผล วิธีการทางคณิตศาสตร์ และการค้นคว้าวิจัยมาใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
  • ความคิดของเดส์การ์ตส์ เสนอว่าวิชาเรขาคณิตเป็นหลักความจริง สามารถนำไปใช้สืบค้นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมาเป็นอย่างมาก
  • ความคิดขอเบคอน เสนอแนวทางการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือศึกษา ทำให้วิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • การเสนอทฤษฏีการศึกษาค้นคว้าด้วย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนของยุโรป มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นในประเทศต่าง ๆ หลายแห่ง ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อสนับสนุนงานวิจัย การประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าโดยลำดับ
  • ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักประดิษฐ์นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ จึงมีผู้กล่าวว่ากรปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคแห่งอัจฉริยะ (The Age of Genius) เพราะมีการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
การค้นพบ กฎแห่งความโน้มถ่วงของนิวตัน
  • การค้นพบความรู้หรือทฤษฎีใหม่ของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในตอนปลายคริสต์สตวรรษที่ 17 มี 2 ทฤษฏี คือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งความโน้มถ่วง
  • ผลจากการค้นพบทฤษฏีทั้งสองดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร และสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยไปในอวกาศ
  • ความรู้ที่พบกลายเป็นหลักของวิชากลศาสตร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าในเรื่องราวของเอกภพสะสาร พลังงาน เวลา และการเคลื่อนตัวของวัตถุในท้องฟ้า โดยใช้ความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ช่วยค้นหาคำตอบ
ผลจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
  • การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก
  • การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิด ยุคภูมิธรรมหรือ ยุคแห่งการรู้แจ้งทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในเหตุผล ความสามารถ และภูมิปัญญาของตน เชื่อมั่นว่าโลกจะก้าวหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีความมั่นในว่าจะสามารถแสวงหาความรู้ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด โดยอาศัยเหตุผลและสติปัญญาของตน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น